ใบกำกับภาษี คือ เอกสารสำคัญในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งต่อผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ออก และผู้รับใบกำกับภาษี ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องจัดทำในทันที ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการเพื่อแสดงว่าได้ขายสินค้า หรือให้บริการชนิด หรือประเภทใดให้บุคคลใด เมื่อใด มีจำนวนมูลค่า และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเรียกเก็บไว้เป็นหลักฐานในการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้า หรือรับบริการว่ามีจำนวนเท่าใด และหากผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วย ก็มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บมาถือเป็นภาษีซื้อ นำมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระในแต่ละเดีอนภาษีได้ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องจะต้องมีความผิด และต้องรับโทษตามกฎหมายประมวลรัษฎากร โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องจัดทำใบกำกับภาษีทั้งต้นฉบับ และสำเนา และส่งมอบต้นฉบับให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือบริการ และเก็บรักษาสำเนาเพื่อลงรายงานภาษีขาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขายสินค้า หรือให้บริการ และมีการคำนวณภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อ ผู้ขายทอดตลาดที่มิใช่ส่วนราชการซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยให้ผู้ขายทอดตลาดออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนในราชอาณาจักร และที่อยู่นอกราชอาณาจักรโดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิขอเข้าสู่ระบบ และได้จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกประกอบกิจการแล้ว แต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ออกใบกำกับภาษีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการโดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ใบกำกับภาษีมีทั้งแบบเต็มรูป และแบบอย่างย่อ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะมีสิทธิออกใบกำกับภาษีแบบใดขึ้นอยู่กับลักษณะของการประกอบกิจการ และอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจกำหนดให้ใบกำกับภาษีของสินค้า หรือบริการบางอย่างมีรายการเป็นอย่างอื่นได้ โดยทั่วไปรายการในใบกำกับภาษีให้จัดทำเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ และใช้หน่วยเงินตราไทย ตัวเลขไทย หรือเลขอารบิกก็ได้ เว้นแต่บางประเภทกิจการที่มีความจำเป็นต้องจัดทำใบกำกับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือหน่วยเงินตราอื่น ต้องขอและได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน ใบกำกับภาษี หมายความรวมถึง ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด หรือขายโดยวิธีอื่น และใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต หรือของกรมศุลกากร ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทั่วไปผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ และส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อมีการส่งมอบสินค้า ส่วนสำเนาผู้ประกอบการต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานประกอบการลงบัญชี และรายงานภาษีขาย ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่มีรายการครบถ้วนจึงจะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานได้โดยต้องมีรายการอย่างน้อยตามที่กำหนด 1คำว่า ใบกำกับภาษี ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน 2เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี 3ชื่อ ที่อยู่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี 4 ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า/บริการ หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 5 หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) 6 วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี 7 ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า หรือบริการ (ห้ามแสดงเป็นรหัส) 8 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการโดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้า และหรือบริการให้ชัดเจน 9 ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด เช่น เอกสารออกเป็นชุด สาขาที่ออกใบกำกับภาษี เลขทะเบียนรถยนต์ อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น - กรณีที่ผู้ประกอบการประสงค์จะออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นในลักษณะเอกสารออกเป็นชุด ต้องมีคำว่า "เอกสารออกเป็นชุด" ในเอกสารดังกล่าวด้วย - ต้องระบุชื่อทั้งผู้ออกใบกำกับภาษี และผู้ซื้อทุกครั้ง จะใช้ชื่อย่อไม่ได้ กรณีถ้าเป็นบุคคลธรรมดาต้องระบุนามสกุลด้วย - ถ้าผู้ออกใบกำกับภาษีย้ายชั้นของสถานประกอบการ แต่ยังอยู่ในอาคารเดียวกันยังสามารถใช้ใบกำกับภาษีที่ระบุที่อยู่เดิมต่อไปได้ เพราะชั้นของอาคารไม่ถือเป็นรายการที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี - กรณีระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการไม่ถูกต้องครบถ้วนผิดที่สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์ แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว - คำบอกสถานะของบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถใช้คำย่อแทนได้ เช่น บริษัทจำกัด ใช้คำย่อว่า "บ." หรือ "บจ." ห้างหุ้นส่วนจำกัดใช้คำย่อว่า "หจก." และบริษัท(มหาชน)จำกัด ใช้คำย่อว่า "บมจ." - จำนวนเศษสตางค์ในใบกำกับภาษีให้ปัดจากตำแหน่งที่ 3 เป็นตำแหน่งที่ 2 ได้ - ส่วนลดการค้าที่ลดให้ในทันทีที่ขายสินค้า หรือให้บริการต้องระบุไว้ในใบกำกับภาษีด้วย นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอหักภาษีซื้อไม่ได้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการขายปลีก หรือให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ซึ่งขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เช่น แผงลอย ขายของชำ ขายยา และห้างสรรพสินค้า หรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร โรงแรม กิจการซ่อมทุกชนิด โรงภาพยนตร์ สถานีบริการน้ำมัน ผู้ประกอบกิจการจะต้องจัดทำใบกำกับภาษี และสำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้า หรือบริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อร้องขอใบกำกับภาษีอย่างย่อโดยทั่วไปต้องมีรายการตามที่กำหนดอย่างน้อย ดังนี้ - คำว่า ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน - ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี - หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) - ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า หรือบริการได้ต้องแจ้งให้อธิบดีทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ก่อนวันใช้รหัสนั้น - วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี - ราคาสินค้า หรือบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว - ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด การออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นคำขอ และได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด สำหรับการออกใบกำกับภาษีโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งให้ออกใบกำกับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการในลักษณะของการเป็น Counter Service ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดให้ครบถ้วน ใบกำกับภาษีที่ออกโดยตัวแทนรับชำระเงินต้องมีรายการ ดังนี้ 1คำว่า ใบกำกับภาษีอย่างย่อ 5ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า / บริการ 2ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทน 6ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 3ชื่อ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และรหัสของตัวการ 7วัน เดือน ปี และเวลาที่ออกใบกำกับภาษี 4หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี 8เลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ เป็นความสะดวกของผู้ประกอบการที่ไม่ต้องมีภาระในการเขียน หรือพิมพ์ โดยเฉพาะกิจการค้าปลีกซึ่งขายสินค้า หรือให้บริการแก่บุคคลจำนวนมาก และยังง่ายต่อการควบคุมตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ด้วย ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประสงค์จะใช้เครื่องบันทึการเก็บเงินในการออกใบกำกับภาษี ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรก่อน และต้องปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีฯ กำหนด ใบกำกับภาษีที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงินอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังนี้ 1 คำว่า ใบกำกับภาษีอย่างย่อ 6 หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี 2 ชื่อ หรือชื่อย่อของผู้ขาย 7 ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า / บริการ 3 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย 8 มีข้อความแสดงว่าราคาได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว 4 วัน เดือน ปี และเวลาที่ออกใบกำกับภาษี 9 จำนวนเงินรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 5 เลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน 10 รหัสเครื่องหมายแสดงความแตกต่างของสินค้าที่ได้รับยกเว้น ถือเป็นใบกำกับภาษีชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารวมเป็นภาษีซื้อ หรือรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีที่ได้รับ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกให้ผู้ซื้อ กรณีที่มีเหตุอันทำให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น เช่น มีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย หรือให้บริการ เนื่องจากจำนวนสินค้า หรือบริการคลาดเคลื่อนจากที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นเหตุให้การคำนวณราคาสินค้า หรือค่าบริการต่ำกว่าที่เป็นจริง โดยจะต้องมีรายการตามที่กำหนด ดังนี้ 1 คำว่า ใบเพิ่มหนี้ ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน 2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ 3 ชื่อ ที่อยู่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ 4 ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการ 5 วัน เดือน ปีที่ออกใบเพิ่มหนี้ 6 หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) 7 มูลค่าของสินค้า หรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีเดิม มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้า หรือบริการผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสอง และจำนวนภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มของส่วนต่างนั้น 8 สาเหตุของการออกใบเพิ่มหนี้ ( สั้นๆ ) เป็นใบกำกับภาษีอีกชนิดหนึ่งที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้า หรือบริการในกรณีที่ได้ขายสินค้า และบริการ และได้นำภาษีขายดังกล่าวไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และมีเหตุอันทำให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการมีจำนวนลดลง เช่น มีการลดราคาสินค้า หรือบริการ เนื่องจากสินค้า หรือบริการผิดข้อกำหนด / ชำรุดเสียหาย หรือคำนวณราคาผิดพลาด หรือมีการบอกเลิกสัญญา เป็นต้น โดยต้องมีรายการตามที่กำหนดดังนี้ 1 คำว่า ใบลดหนี้ ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน 2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ 3 ชื่อ ที่อยู่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ 4 ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการ 5 วัน เดือน ปีที่ออกใบลดหนี้ 6 หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) 7 มูลค่าของสินค้า หรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีเดิม มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้า หรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสอง และจำนวนภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มของส่วนต่างนั้น 8 สาเหตุของการออกใบลดหนี้ (สั้นๆ) 1 การออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ให้ออกในเดือนภาษีที่เหตุการณ์อันทำให้มูลค่าของสินค้า หรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น หรือลดลงแล้วแต่กรณี เว้นแต่ กรณีมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถออกได้ทันในเดือนนั้น ให้ออกในเดือนถัดไปได้ 2 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ในเดือนใดให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฎมาถือเป็นภาษีขายในเดือนภาษีนั้น และผู้ประกอบการที่ได้รับใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ในเดือนภาษีใดให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฎมาถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีนั้น 3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถออกใบเพิ่มหนี้ 1 ฉบับ หรือใบลดหนี้ 1 ฉบับ โดยอ้างถึงใบกำกับภาษีเดิมมากกว่า 1 ฉบับได้ 4 การจัดทำใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ให้จัดทำเป็นภาษาไทย หน่วยเงินตราไทยใช้เลยไทย หรืออารบิก หรือจะจัดทำเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นต้องทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร 5 การจัดทำรายานของใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ จะจัดทำโดยวิธีการพิมพ์จากโรงพิมพ์ จัดทำด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ประทับตรายาง เขียนด้วยหมึก หรือพิมพ์ดีด และสามารถขีดฆ่า ขูดลบ ตกแต่ง ต่อเติม ก็สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดเหมือนกับการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป 6 กรณีตัวแทน เป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของตัวแทนนั้นด้วย ให้มีรายการเช่นเดียวกับใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้แล้วแต่กรณี และมีข้อความระบุไว้ในที่ที่เห็นชัดว่าเป็นใบแทน และออกเพื่อแทนใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ฉบับใด โดยจะออกเมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับการร้องของจากผู้ซื้อสินค้า หรือบริการได้ทำใบจริงสูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด การออกใบแทนดังกล่าวนั้นผู้ประกอบการสามารถกระทำได้โดยถ่ายจากสำเนาใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้น แล้วบันทึกรายการดังต่อไปนี้ลงในภาพถ่าย หรือด้านหลังของภาพถ่ายดังกล่าว - ใบแทนออกให้ครั้งที่.... - วัน เดือน ปีที่ออกใบแทน - คำอธิบายย่อ ๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน - ลายมือชื่อของผู้ออกใบแทน ให้ผู้ประกอบการซึ่งได้ออกใบแทนดังกล่าว บันทึกรายการออกใบแทนในรายงานภาษีขายในเดือนที่มีการออกใบแทนในรายงานภาษีขายในเดือนที่มีการออกใบแททน โดยระบุชื่อผู้ซื้อ เลขที่/เล่มที่ วันที่ของใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ที่ได้มีการออกใบแทนนั้น
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขายสินค้า หรือให้บริการ และมีการคำนวณภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อ
ผู้ขายทอดตลาดที่มิใช่ส่วนราชการซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยให้ผู้ขายทอดตลาดออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนเจ้าของทรัพย์สิน
ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนในราชอาณาจักร และที่อยู่นอกราชอาณาจักรโดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิขอเข้าสู่ระบบ และได้จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกประกอบกิจการแล้ว แต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ออกใบกำกับภาษีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการโดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ใบกำกับภาษีมีทั้งแบบเต็มรูป และแบบอย่างย่อ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะมีสิทธิออกใบกำกับภาษีแบบใดขึ้นอยู่กับลักษณะของการประกอบกิจการ และอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจกำหนดให้ใบกำกับภาษีของสินค้า หรือบริการบางอย่างมีรายการเป็นอย่างอื่นได้ โดยทั่วไปรายการในใบกำกับภาษีให้จัดทำเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ และใช้หน่วยเงินตราไทย ตัวเลขไทย หรือเลขอารบิกก็ได้ เว้นแต่บางประเภทกิจการที่มีความจำเป็นต้องจัดทำใบกำกับภาษีเป็นภาษาต่างประเทศ หรือหน่วยเงินตราอื่น ต้องขอและได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อน ใบกำกับภาษี หมายความรวมถึง ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด หรือขายโดยวิธีอื่น และใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต หรือของกรมศุลกากร ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยทั่วไปผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำ และส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อมีการส่งมอบสินค้า ส่วนสำเนาผู้ประกอบการต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานประกอบการลงบัญชี และรายงานภาษีขาย
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่มีรายการครบถ้วนจึงจะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานได้โดยต้องมีรายการอย่างน้อยตามที่กำหนด
1คำว่า ใบกำกับภาษี ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน
2เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
3ชื่อ ที่อยู่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
4 ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า/บริการ หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
5 หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
6 วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี
7 ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า หรือบริการ (ห้ามแสดงเป็นรหัส)
8 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการโดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้า และหรือบริการให้ชัดเจน
9 ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด เช่น เอกสารออกเป็นชุด สาขาที่ออกใบกำกับภาษี เลขทะเบียนรถยนต์ อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
- กรณีที่ผู้ประกอบการประสงค์จะออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นในลักษณะเอกสารออกเป็นชุด ต้องมีคำว่า "เอกสารออกเป็นชุด" ในเอกสารดังกล่าวด้วย
- ต้องระบุชื่อทั้งผู้ออกใบกำกับภาษี และผู้ซื้อทุกครั้ง จะใช้ชื่อย่อไม่ได้ กรณีถ้าเป็นบุคคลธรรมดาต้องระบุนามสกุลด้วย
- ถ้าผู้ออกใบกำกับภาษีย้ายชั้นของสถานประกอบการ แต่ยังอยู่ในอาคารเดียวกันยังสามารถใช้ใบกำกับภาษีที่ระบุที่อยู่เดิมต่อไปได้ เพราะชั้นของอาคารไม่ถือเป็นรายการที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี
- กรณีระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการไม่ถูกต้องครบถ้วนผิดที่สระ ตัวสะกด วรรณยุกต์ แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว
- คำบอกสถานะของบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถใช้คำย่อแทนได้ เช่น บริษัทจำกัด ใช้คำย่อว่า "บ." หรือ "บจ." ห้างหุ้นส่วนจำกัดใช้คำย่อว่า "หจก." และบริษัท(มหาชน)จำกัด ใช้คำย่อว่า "บมจ."
- จำนวนเศษสตางค์ในใบกำกับภาษีให้ปัดจากตำแหน่งที่ 3 เป็นตำแหน่งที่ 2 ได้
- ส่วนลดการค้าที่ลดให้ในทันทีที่ขายสินค้า หรือให้บริการต้องระบุไว้ในใบกำกับภาษีด้วย
นำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอหักภาษีซื้อไม่ได้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการขายปลีก หรือให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ซึ่งขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง เช่น แผงลอย ขายของชำ ขายยา และห้างสรรพสินค้า หรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร โรงแรม กิจการซ่อมทุกชนิด โรงภาพยนตร์ สถานีบริการน้ำมัน ผู้ประกอบกิจการจะต้องจัดทำใบกำกับภาษี และสำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้า หรือบริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อร้องขอใบกำกับภาษีอย่างย่อโดยทั่วไปต้องมีรายการตามที่กำหนดอย่างน้อย ดังนี้
- คำว่า ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน
- ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า หรือบริการได้ต้องแจ้งให้อธิบดีทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ก่อนวันใช้รหัสนั้น
- วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี
- ราคาสินค้า หรือบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
- ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
การออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นคำขอ และได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด สำหรับการออกใบกำกับภาษีโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งให้ออกใบกำกับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการในลักษณะของการเป็น Counter Service ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดให้ครบถ้วน ใบกำกับภาษีที่ออกโดยตัวแทนรับชำระเงินต้องมีรายการ ดังนี้
1คำว่า ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
5ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้า / บริการ
2ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทน
6ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
3ชื่อ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และรหัสของตัวการ
7วัน เดือน ปี และเวลาที่ออกใบกำกับภาษี
4หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี
8เลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ เป็นความสะดวกของผู้ประกอบการที่ไม่ต้องมีภาระในการเขียน หรือพิมพ์ โดยเฉพาะกิจการค้าปลีกซึ่งขายสินค้า หรือให้บริการแก่บุคคลจำนวนมาก และยังง่ายต่อการควบคุมตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ด้วย ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประสงค์จะใช้เครื่องบันทึการเก็บเงินในการออกใบกำกับภาษี ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรก่อน และต้องปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีฯ กำหนด ใบกำกับภาษีที่ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงินอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังนี้
3 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย
ถือเป็นใบกำกับภาษีชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารวมเป็นภาษีซื้อ หรือรวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีที่ได้รับ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกให้ผู้ซื้อ กรณีที่มีเหตุอันทำให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น เช่น มีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย หรือให้บริการ เนื่องจากจำนวนสินค้า หรือบริการคลาดเคลื่อนจากที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นเหตุให้การคำนวณราคาสินค้า หรือค่าบริการต่ำกว่าที่เป็นจริง โดยจะต้องมีรายการตามที่กำหนด ดังนี้
1 คำว่า ใบเพิ่มหนี้ ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน
2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้
3 ชื่อ ที่อยู่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้
4 ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า หรือรับบริการ
5 วัน เดือน ปีที่ออกใบเพิ่มหนี้
6 หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
7 มูลค่าของสินค้า หรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีเดิม มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้า หรือบริการผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสอง และจำนวนภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มของส่วนต่างนั้น
8 สาเหตุของการออกใบเพิ่มหนี้ ( สั้นๆ )
เป็นใบกำกับภาษีอีกชนิดหนึ่งที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออกให้กับผู้ซื้อสินค้า หรือบริการในกรณีที่ได้ขายสินค้า และบริการ และได้นำภาษีขายดังกล่าวไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และมีเหตุอันทำให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้า หรือบริการมีจำนวนลดลง เช่น มีการลดราคาสินค้า หรือบริการ เนื่องจากสินค้า หรือบริการผิดข้อกำหนด / ชำรุดเสียหาย หรือคำนวณราคาผิดพลาด หรือมีการบอกเลิกสัญญา เป็นต้น โดยต้องมีรายการตามที่กำหนดดังนี้
1 คำว่า ใบลดหนี้ ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน
5 วัน เดือน ปีที่ออกใบลดหนี้
7 มูลค่าของสินค้า หรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีเดิม มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้า หรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสอง และจำนวนภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มของส่วนต่างนั้น
8 สาเหตุของการออกใบลดหนี้ (สั้นๆ)
1 การออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ให้ออกในเดือนภาษีที่เหตุการณ์อันทำให้มูลค่าของสินค้า หรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น หรือลดลงแล้วแต่กรณี เว้นแต่ กรณีมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถออกได้ทันในเดือนนั้น ให้ออกในเดือนถัดไปได้
2 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ในเดือนใดให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฎมาถือเป็นภาษีขายในเดือนภาษีนั้น และผู้ประกอบการที่ได้รับใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ในเดือนภาษีใดให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฎมาถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีนั้น
3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถออกใบเพิ่มหนี้ 1 ฉบับ หรือใบลดหนี้ 1 ฉบับ โดยอ้างถึงใบกำกับภาษีเดิมมากกว่า 1 ฉบับได้
4 การจัดทำใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ให้จัดทำเป็นภาษาไทย หน่วยเงินตราไทยใช้เลยไทย หรืออารบิก หรือจะจัดทำเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นต้องทำเป็นภาษาต่างประเทศอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
5 การจัดทำรายานของใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ จะจัดทำโดยวิธีการพิมพ์จากโรงพิมพ์ จัดทำด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ประทับตรายาง เขียนด้วยหมึก หรือพิมพ์ดีด และสามารถขีดฆ่า ขูดลบ ตกแต่ง ต่อเติม ก็สามารถทำได้ เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดเหมือนกับการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
6 กรณีตัวแทน เป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของตัวแทนนั้นด้วย
ให้มีรายการเช่นเดียวกับใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้แล้วแต่กรณี และมีข้อความระบุไว้ในที่ที่เห็นชัดว่าเป็นใบแทน และออกเพื่อแทนใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ฉบับใด โดยจะออกเมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับการร้องของจากผู้ซื้อสินค้า หรือบริการได้ทำใบจริงสูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด การออกใบแทนดังกล่าวนั้นผู้ประกอบการสามารถกระทำได้โดยถ่ายจากสำเนาใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้น แล้วบันทึกรายการดังต่อไปนี้ลงในภาพถ่าย หรือด้านหลังของภาพถ่ายดังกล่าว
- ใบแทนออกให้ครั้งที่....
- วัน เดือน ปีที่ออกใบแทน
- คำอธิบายย่อ ๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน
- ลายมือชื่อของผู้ออกใบแทน
ให้ผู้ประกอบการซึ่งได้ออกใบแทนดังกล่าว บันทึกรายการออกใบแทนในรายงานภาษีขายในเดือนที่มีการออกใบแทนในรายงานภาษีขายในเดือนที่มีการออกใบแททน โดยระบุชื่อผู้ซื้อ เลขที่/เล่มที่ วันที่ของใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ที่ได้มีการออกใบแทนนั้น
สำนักงาน พี.เอส.การบัญชี และธุรกิจ 164/963 หมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์ พาร์ค 2 ซอยนนทรี หมู่ 1 ถนนเทศบาล 2 ตำบลพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 โทร. 029242480-2, 029837144-6 โทรสาร. 029242483, 029243530 E-mail : info@psacc.net